แท้จริงแล้ว ทุกข์ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของคุณเลยแม้แต่น้อย

ทุกข์ ไม่ใช่ของเรา

ทำยังไงให้จิตสำนึก เป็นอิสระจากความทุกข์ ความสูญเสีย ความล้มเหลว ความเจ็บปวด ความเจ็บป่วย

ในเมื่อเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราสามารถลดได้ ลดความทุกข์ได้ ลดความรู้สึกเจ็บปวดได้

ฤษีโบราณค้นพบว่า ความทุกข์ทั้งหมดที่ว่ามานั้น ไม่สามารถแตะต้อง ส่งผลกระทบแก่คุณได้เลย

ทำไม?

เพราะว่า พวกมันไม่ได้เป็นของคุณอย่างแท้จริง 

อธิบายง่าย ๆ สมมุติว่าคุณกำลังกลับไปที่รถของคุณในลานจอดรถ โดยข้าง ๆ รถคุณก็มีอีกคันจอดอยู่ ซึ่งมันเป็นรุ่นเดียวกันกับรถของคุณ สีเดียวกัน 

เหมือนจนมองจากระยะไกลแล้วคุณไม่สามารถแยกออกได้เลย ว่าเป็นของคุณหรือของใคร

เมื่อคุณเดินเข้ามาใกล้มากขึ้น จึงสังเกตเห็นว่า มีคันหนึ่งได้รับความเสียหายอย่างหนัก เพราะถูกชนแล้วหนี 

ทันทีที่คุณเห็นรถพัง กังวลเกิดขึ้นทันที ไม่แน่ใจว่ามันเป็นรถของคุณหรือคนอื่น 

เมื่อคุณเดินเข้าใกล้จนเห็นรายละเอียดชัดขึ้น จึงเห็นว่ารถของคุณปลอดภัย แต่เป็นคันอื่นต่างหากที่โดนชนจนพังไป คุณรู้สึกโล่งใจเป็นอย่างมาก

ตอนนี้ให้ลองพิจารณา ความเสียหายมีอยู่ และคุณจะเห็นความเสียหาย คุณประสบกับมัน แต่มันไม่มีผลกับคุณเลย เพราะ “ความเสียหายนั้นไม่ใช่ของคุณ” 

เนื่องจากความเสียหายไม่ใช่ของคุณ จึงไม่มีปัญหา

สมมุติต่อ ว่านี่เป็น เรื่องจริงเกี่ยวกับปัญหาชีวิตทั้งหมด ปวดหัว ตกงาน ผิดพลาด ฯลฯ สมมุติว่าปัญหาเหล่านั้นไม่ใช่ของคุณจริง ๆ และถ้าไม่ใช่ของคุณจริง ๆ พวกมันก็จะไม่มีผลกับคุณเลย มันเยี่ยมมากเลยใช่มั้ย?

แต่มัน จะเป็นไปได้ง่าย ๆ อย่างนั้นหรือ?

หากคุณยังไม่เชื่อ ขอยกคำสอนของพระเวท มาสนับสนุน

ที่ว่า “คุณเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ แก่นแท้ของคุณคือความตระหนักรู้ หรือ คุณเป็นผู้สังเกตุการณ์อย่างมีสติ 

ทุกสิ่งที่คุณเห็น คุณเป็นพยาน(คนนอก)ที่มองเห็นเหตุการณ์อย่างมีสติสัมปชัญญะในทุกสิ่ง ภาษาสันสกฤต เรียกว่า Sakshi(ศักดิ์ศรี?) เพื่ออธิบายลักษณะพื้นฐานของคุณในฐานะผู้สังเกตุการณ์อย่างมีสติ หรือ พยานที่มีสติสัมปชัญญะ

ในฐานะผู้สังเกตุการณ์ คุณถูกแยกออกจากสถานการณ์อย่างชัดเจน เป็นหมวดหมู่ และแตกต่าง 

เมือนคุณเห็นกล้วย คุณ/ไม่ใช่/กล้วย นี่คือความต่าง

คุณเห็นลูกหมา คุณก็ไม่ใช่ลูกหมา แยกต่างชัด

และเมื่อคุณสังเกตเห็นมือของตัวเอง ในฐานะ Sakshi เป็นผู้สังเกตอย่างมีสติ คุณจะถูกแยกออกจากมือของคุณ 

เมื่อคุณมองดูร่างกายของตนเอง คุณก็รับรู้ ในแบบเดียวกับที่คุณมองดูกล้วย หรือ ลูกหมา นั้น

ร่างกายของคุณเป็นวัตถุที่คุณสังเกตเห็นเท่านั้น (เป็นร่างอวตาร?) ดั่งนั้นคุณจึงถูกแยกออกจากร่างกาย เพราะว่าคุณเป็นพยานที่มีสติ เป็นผู้สังเกต

แน่นอนว่า ร่างกายของคุณแตกต่างจากสิ่งอื่น ๆ ทั้งหมดในโลกนี้ เพราะคุณรู้สึกถึงความรู้สึกในร่างกายของคุณ รู้สึกร้อน เย็น กดดัน และ เจ็บปวด

นอกจากนี้ ตา หู จมูก และ ปาก ของคุณยังรับความรู้สึกอื่น ๆ เช่น สี เสียง กลิ่น และ รส อีกด้วย

ความรู้สึกเหล่านี้ถูกส่งไปยังสมองของคุณ เนื่องจากเครือข่ายประสาท ของคุณมีมากมาย คุณจึงสัมผัสได้ถึงความรู้สึกเหล่านี้ในใจของคุณ 

เมื่อมีความรู้สึกต่าง ๆ เกิดขึ้นในใจ คุณควรทำเพียงแค่สังเกตมัน ว่าความรู้สึกแต่ละอย่างเป็น วัตถุในจิตใจของคุณ เป็นวัตถุ(ที่ถูกฉายภาพโฮโลแกรม? )เข้าไปในจิต โดยคุณเป็นเพียงแค่ผู้สังเกตุการณ์อย่างมีสติ ที่รับรู้ถึงความรู้สึกเหล่านั้น ในสถานะผู้ที่เป็นสักขีพยาน

คุณไม่เพียงเห็นความรู้สึกเท่านั้น คุณยังเห็นความคิดของคุณด้วย เช่นเดียวกับความรู้สึก – ความคิดก็เป็นวัตถุทางจิต เมื่อความคิดผุดขึ้นในจิตใจของคุณ ความคิดเหล่านั้นก็จะเป็นที่รู้จักสำหรับคุณ ผู้ซึ่งเป็นผู้สังเกตอย่างมีสติ

นอกจากความรู้สึกและความคิดแล้ว อารมณ์ยังเกิดขึ้นในจิตใจของคุณด้วย เมื่อคุณมีความสุขหรือความเศร้า อารมณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้น(ถูกสร้างขึ้น?)ให้เป็นวัตถุทางจิตใจ ที่คุณสังเกตได้เช่นเดียวกับความรู้สึกและความคิดของคุณ ในฐานะที่เป็น Sakshi คุณจะได้เห็นการไหลของความรู้สึก ความคิด และอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาที่เกิดขึ้นในใจของคุณ

ในการใช้คำอุปมาสมัยใหม่ ราวกับว่ามีหน้าจออยู่ในใจของคุณ เหมือนกับในโรงภาพยนตร์ และบนหน้าจอนั้นจะฉายภาพ ความรู้สึก ความคิด และอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของคุณ คุณเป็นเพียงแค่ Sakshi ผู้สังเกตอย่างมีสติ ผู้เฝ้าดูความรู้สึก ความคิด และ อารมณ์ที่ปรากฏบนหน้าจอจิตใจของคุณ และในฐานะผู้สังเกตการณ์อย่างมีสติ คุณจึงแตกต่าง และไม่ได้เป็นสิ่งที่คุณสังเกตนั้น

ความคิดและอารมณ์ของคุณเป็นของจิตใจ ไม่ใช่ของคุณ คุณเป็นเพียงแค่ผู้สังเกตการณ์อย่างมีสติ

และถ้าความรู้สึก ความคิด และอารมณ์ของคุณเป็นความผิดของคุณจริง ๆ ไม่ใช่ของคุณ แล้วจะส่งผลต่อคุณได้อย่างไร?

สักขีผู้เป็นพยานอย่างมีสติ นี่เป็นหนึ่งในการค้นพบที่สำคัญที่สุดของฤษีโบราณ

เพื่อให้คำสอนเหล่านี้ชัดเจนขึ้น ให้สมมติว่าคุณกำลังนั่งสบาย ๆ ในโรงหนังเพื่อชมภาพยนตร์ เมื่อมีการฉายฉากเศร้าบนจอหนัง คุณรู้สึกเศร้าตาม และเมื่อถึงฉากที่มีความสุข คุณจะรู้สึกถึงความสุข มีความสุขตาม

นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณตลอดเวลา เนื่องจากประสบการณ์ทั้งสุขและเศร้าถูกฉายขึ้นบนหน้าจอจิตใจของคุณ

ไม่ใช่แค่นี้ หน้าจอของจิตใจของคุณ สามารถฉายต่อเนื่องกันได้โดยไม่หยุด คือ ทุกสิ่งในขณะที่คุณตื่น และในขณะฝันด้วย โดยความฝันของคุณอาจจะออกมาในรูปแบบแปลก ๆ ได้ เหมือนหนังไซไฟ 

ถึงกระนั้น ในขณะนอน หากคุณหลับลึก ก็จะไม่ฝันเหมือนโรงหนังมืดสนิทไม่ได้ฉายหนังอะไรเลย 

แม้จะหลับลึก สติสัมปชัญญะของคุณยังคงเป็นผู้สังเกตุการณ์อย่างมีสติอยู่ เพียงแต่ว่าไม่มีกิจกรรมทางจิตใด ที่จำเป็นต้องใช้สติ เหมือนคุณอยู่ในโรงหนังมืดสนิท ไม่มีหนังฉาย

สติของผู้สังเกตุการณ์ของคุณไม่เคยดับ เหมือนไฟในตู้เย็น สติจะเปิดเผยก็ต่อเมื่อมีสิ่งที่เกิดขึ้นบนหน้าจอของจิตใจของคุณทุกช่วงเวลา ไม่ว่าคุณจะตื่น ฝัน หรือ หลับลึกจิตสำนึกนั้นคือคุณ คือแก่นแท้ของความเป็นคุณ ไม่สามารถเป็นวัตถุทางโลกอย่างแสงในตู้เย็นของคุณได้

เพื่อให้เข้าใจมากกว่านี้ ว่าคุณยังคงมีสติสัมปชัญญะและนอนหลับสนิทได้ดียิ่งขึ้น ลองนึกถึงภาพที่คุณยืนอยู่นอกบ้าน มองเข้าไปในหน้าต่าง ภายในบ้านสว่างไสวจากแสงโคมไฟที่อยู่ด้านข้างซึ่งคุณมองไม่เห็น ผนังห้องทาสีดำแต่มองเห็นเครื่องเรือนภายในห้องได้ชัดเจน สมมติว่าเรานำเครื่องเรือนทั้งหมดออกจากห้อง ยกเว้นโคมไฟ จากนั้นห้องก็ยังเต็มไปด้วยแสงจากโคมไฟ แต่กลับมองเห็นแต่ความมืดมิด ถึงจะปิดไฟก็ยังเห็นแต่ความมืดมิดเพราะไม่มีอะไรในห้องนั้นให้มองเห็น

ในตัวอย่างนี้ ผนังที่มีสีดำแสดงถึงจิตใจของคุณ และการตกแต่งนั้นแสดงถึงความรู้สึก ความคิด และอารมณ์ของคุณ แสงแสดงถึงจิตสำนึกของคุณ

ขณะที่นอนหลับลึก ความรู้สึก ความคิด และอารมณ์จะหายไป จิตใจของคุณจะเงียบลงอย่างสิ้นเชิง

แต่ถึงอย่างนั้น จิตใจของคุณก็ยังคงตื่นอยู่ในจิตสำนึก

คุณยังคงอยู่ในฐานะผู้สังเกตการณ์ที่มีสติสัมปชัญญะ แต่ไม่มีอะไรเหลืออยู่ในใจของคุณให้ถูกสังเกต เหมือนกับห้องว่างที่เต็มไปด้วยแสง การหลับลึกก็เหมือนการมองดูความมืดอันบริสุทธิ์ 

จากทั้งหมดที่อธิบายมา ช่วยยืนยันสิ่งที่ฤษีโบราณสอน ว่า ลักษณะที่แท้จริงของคุณในฐานะพยานที่มีสติ  

Sakshi = atma = sat cit ananda 

Sat คือ ความจริง ไม่ได้ถูกสร้าง และไม่เปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งที่ยังคงอยู่แม้ในยามหลับสนิท

Cit คือ สติสัมปชัญญะ สามารถแสดงจิตให้กระจ่างแจ้งความรู้สึก ความคิด และอารมณ์ได้ 

Ananda คือ อารมณ์ สงบสุขโดยสมบูรณ์ 

แต่ตอนนี้ต้องถามกลับไปว่า ทำอย่างไรถึงจะพอใจและสงบสุขอย่างสมบูรณ์ ในเมื่อหน้าจอจิตใจ เต็มไปด้วยฉากหงุดหงิด รำคาญ ฉากเศร้า ทุกข์ เจ็บใจ เคียดแค้น อยู่ตลอดเวลา? 

คุณสามารถคงความพอใจไว้ได้อย่างสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อคุณไม่ได้รับผลกระทบจากสิ่งที่ปรากฏบนหน้าจอของจิตใจของคุณ อย่างที่เราเคยเห็นมาก่อนหน้านี้ คุณแตกต่างและแยกห่างไปจากทุกสิ่งที่ปรากฏบนหน้าจอความคิดของคุณ เพราะคุณเป็นผู้สังเกตุการณ์อย่างมีสติสัมปชัญญะของทุกสิ่งที่คาดการณ์ไว้ ดังนั้น อะไรก็ตามที่ฉายอยู่บนหน้าจอความคิดของคุณ จะเป็นจิตใจของคุณ ไม่ใช่ตัวคุณผู้สังเกตอย่างมีสติ

สมมุติว่าคุณกำลังดูภาพยนตร์และมาถึงฉากที่อกหักเป็นพิเศษ คุณอาจรู้สึกเศร้าที่ คุณอาจจะร้องให้ แต่คุณรู้ว่าอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์เรื่องนั้นไม่มีผลกระทบต่อคุณจริง ๆ ดังนั้นคุณจึงเพลิดเพลินกับฉากเศร้า คุณอาจจะชอบร้องให้ด้วยซ้ำ นอกโรงละคร คุณยังรู้สึกเศร้าเมื่อประสบการณ์เศร้าฉายขึ้นบนหน้าจอจิตใจของคุณ และเช่นเดียวกับในโรงละคร ประสบการณ์ที่น่าเศร้าเหล่านั้น ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อคุณอย่างแท้จริง

คุณ ในฐานะผู้เป็นสักขีพยานที่มีสติสัมปชัญญะ คุณจะถูกแยกออกจากหน้าจอของจิตใจโดยสิ้นเชิง และไม่ได้รับผลกระทบจากสิ่งที่ฉายออกมา

(ปล. ต้องหาข้อมูล มาสนับสนุนที่ชัดเจนกว่านี้ว่า ร่างนี้เป็นอวตาร ที่ออกแบบมาเพื่อให้หลงเชื่อว่าเป็นหนึ่งเดียว คล้ายโรงหนังที่มี ตัวช่วยเพิ่มประสบการณ์ให้สมจริงมากขึ้นด้วยการโยก พ่นลม พ่นละอองน้ำ และกลิ่น เพื่อหลอกและเพิ่มความสมจริง)

หากคุณสามารถเพลิดเพลินกับหนังเศร้าได้ ก็ต้องสามารถเพลิดเพลินไปกับฉากเศร้าของชีวิตได้เช่นกัน

ชีวิตก็เหมือนหนังยาว ที่มีฉากมากมาย ทั้งความสุข เศร้า ยากลำบาก สบาย ไม่สบาย ในบางฉาก 

จากคำสอนของ Vedanta เราสามารถเรียนรู้ว่าเรายังคงโอเค ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นบนหน้าจอของจิตใจเรา ดังนั้นเราจึงสามารถนั่งพักผ่อนและเพลิดเพลินกับแต่ละฉาก ในขณะที่มันถูกฉายออกไปในหนังชีวิตของเรา

Published by

Zyo

Zyo เป็นนักเขียน บล็อกเกอร์ นักเทรด/นักลงทุน