(ท้าให้ลอง) คำถามเดียวดับทุกข์ได้ทันที ไม่ต้องเข้าวัด/ทำบุญ!

กำลังมีความทุกข์! อย่าเพิ่งไปพึ่งคนอื่น ตัวช่วยที่ดีที่สุด คือความฉลาดของคุณเอง! เพราะความทุกข์เป็นสิ่งที่คุณสร้างมันขึ้นมา! นี่คือเคล็ดลับดับทุกข์ ไม่ต้องพึ่งหลวงพี่ ไม่ต้องถามหลวงพ่อ ไม่ต้องเข้าวัด ไม่ต้องนั่งสมาธิ ไม่ต้องวิปัสสนา แค่คุณถามตัวเองด้วยคำถามนี้เท่านั้นคำถามเดียว ช่วยขจัดความทุกข์ได้ทันที!

คำถามเดียวดับทุกข์ได้ทันที ไม่ต้องเข้าวัด/ทำบุญ!

ต้องออกตัวก่อนนะว่าผมไม่ได้คัดค้าน หรือห้ามไม่ให้คุณเข้าวัด ฟังธรรม หรือ ทำบุญนะครับ แต่อยากให้มันเป็นตัวช่วยให้คุณดับทุกข์ได้ ในกรณีที่คุณอยู่ใกลวัด หรือ ถ้าคุณเกิดทุกข์ขึ้นมาในตอนกลางคืน คุณไปวัดไม่ได้ หลวงพ่อ/หลวงพี่ ต้องจำวัด วัดปิดอะไรอย่างงี้ คุณต้องหาทางพึ่งพาตัวเองให้ได้ใช่มั้ยครับ นี่คือเคล็ดลับสำคัญเลย ที่จะช่วยเยียวยา ช่วยลดดีกรีความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับตัวคุณได้

เคล็ดง่าย ๆ คำถามพื้น ๆ สั้น ๆ ที่ผมอยากแนะนำก็คือ “เรื่องที่คุณกำลังทุกข์อยู่นี้ คุณมีอำนาจควบคุมหรือเปล่า?” สั้น ๆ แบบนี้นี่แหละ ลองถามตัวเองดู ลองคุยกับตัวเองดูครับ

คุณเชื่อมั้ยครับ ความทุกข์ส่วนใหญ่ที่มนุษย์มีนั้น 99% มาจากความคิดของเขาเองทั้งนั้นเลย เป็นเราเองที่คิดไปเอง สร้างเรื่องขึ้นมาเอง แล้วก็ทุกข์ใจเอง นี่คือเรื่องจริงครับ

ผมไปพบทางสว่างนี้จาก ปรัชญาสโตอิก ครับ เขาสอนว่า ชีวิตของมนุษย์เรานี้มีอยู่แค่สองสิ่ง คือ “สิ่งที่เราควบคุมได้ – ขึ้นอยู่กับเรา – เราทำได้เดี๋ยวนี้” กับ “สิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ – ไม่ขึ้นอยุ่กับเรา – เราทำอะไรไม่ได้เลยในขณะนี้”

  1. สิ่งที่เราควบคุมได้ คือสิ่งที่มันขึ้นอยู่กับเรา – เราทำได้เดี๋ยวนี้ครับ
    • การตัดสินของเราเอง คุณเลือกได้นะครับ ว่าคุณจะเอาแต่ตัดสินแล้วทำให้คุณต้องทนทุกข์ หรือ เลือกที่จะตัดสินใหม่ เพื่อที่จะทำให้คุณสบายใจมากกว่า
    • อารมณ์ของเราเอง เราเลือกได้ครับ ว่าจะปล่อยให้กลัว กังวล หรือ เครียด คุณสามารถเลือกได้ทันที ด้วยตัวเองครับ
    • ความคิดของเราเอง คุณเลือกได้เลยว่าจะคิดในแง่บวกหรือแง่ลบ คุณสามารถเปลี่ยนได้ ถ้าอยากทุกข์ต่อไปก็คิดลบ หากต้องการสบายใจก็ให้มองหาเรื่องที่จะช่วยให้คุณคิดบวกได้
    • ความเชื่อของเราเอง คุณเปลี่ยนความเชื่อได้ครับ นี่คือข่าวดี แต่ข่าวร้ายที่น่าขันก็คือเราไม่ยอมเปลี่ยนความเชื่อ ทั้ง ๆ สามารถเปลี่ยนมันได้ทันที เพราะอะไรรู้มั้ยครับ “อีโก้” ไง เรายอมทุกข์เพราะยึดติดความเชื่อ มากกว่าเปลี่ยนมันแล้วมีความสุข
    • ความปรารถนาของเราเอง
    • ความกลัวของเราเอง
    • ความตั้งใจของเราเอง
    • การตัดสินใจของเราเอง
    • การกระทำของเราเอง
  2. สิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ – ไม่ขึ้นอยุ่กับเรา – เราทำอะไรไม่ได้ในตอนนี้
    • ร่างกายของเรา
    • ความมั่งคั่งของเรา
    • ชื่อเสียง ความน่าเชื่อถือของเรา
    • สถานะทางสังคมของเรา
    • สถานการณ์ที่เราพบเจอ
    • ความตั้งใจของคนอื่นต่อบางอย่าง(รวมถึงเราด้วย)
    • ความเชื่อ มุมมองของพวกเขาต่อเรา
    • ความยืนยาวของอายุเรา
    • ข่าวสารบ้านเมือง เศรษฐกิจ ฯลฯ

4 บทเรียน จาก Epictetus ที่อาจช่วยขจัดทุกข์ของคุณได้ทันที

Epictetus เป็นนักปราชญ์ที่เป็นต้นแบบของปรัชญาสโตอิกครับ เขาเป็นผู้ให้หลักคิดที่ชาวสโตอิกเอามาใช้เป็นแนวทางใช้ชีวิตให้มีความสุข ลดความทุกข์ลงได้มากมายเมื่อเข้าใจสิ่งที่ Epictetus สอนไว้

หนังสือ สโตอิก ปรัชญาเสริมแกร่งเพื่อชีวิตไม่สั่นคลอน ราคาพิเศษที่ https://shope.ee/3KrVD1q5K5

นี่คือบทเรียนสำคัญ จาก Epictetus ที่อาจช่วยขจัดทุกข์ของคุณได้ทันที

  1. งานแรกคือ แบ่งและแยกแยะสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นสองประเภท:
    ภายนอกตัวฉัน – ไม่สามารถควบคุมได้ แต่ตัวเลือกที่ฉันทำเกี่ยวกับสิ่งที่ฉันควบคุม จะหาความดีความชั่วได้ที่ไหน
    ภายในตัวฉัน – มันอยู่ในการเลือกของฉัน ขึ้นอยู่กับฉัน ฉันสามารถควบคุมมันได้
    แค่แยกแยะว่าจะเลือกควบคุมสิ่งที่ขึ้นอยู่กับตัวเรา เราคุมได้ แค่นี้ก็สุขมากขึ้นแล้วครับ
  2. ไม่ใช่เหตุการณ์ที่รบกวนผู้คน แต่เป็นการตัดสินเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ (เหตุการณ์ – การตัดสิน/ตีความ/ให้คุณค่า – เลือกตอบสนองตาม) มันช่วยให้เรายั้งคิด ไม่ตัดสินคนอื่นในแง่ที่จะทำให้เราเกิดความทุกข์ หรือเป็นแรงกระตุ้นให้เราสร้างเวรและกรรมใหม่อันจะก่อให้เกิดทุกข์สาหัสขึ้นมาโดยไม่จำเป็นได้
  3. กำจัดความเย่อหยิ่งในตนเอง – เป็นไปไม่ได้ที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่คิดว่าตนรู้อยู่แล้ว เป็นน้ำไม่เต็มแก้ว เรียนรู้จากอุปสรรค ความทุกข์ – การมองทุกอย่างว่ามันเป็นครูของเราได้ มันจะลดการปะทะ การตัดสิน ซึ่งพวกมันเป็นต้นเหคุแห่งความทุกข์นั่นเอง
  4. คนจริงจะถูกเปิดเผยในยามยาก – เมื่อเกิดปัญหา ให้คิดว่าตัวเองเป็นนักมวยปล้ำที่จับคู่กับคู่แข่งวัยหนุ่มแกร่ง หาทางสู้เพื่อให้ผ่านให้ได้

ลองเอาไปคิดต่อและปรับใช้ดูครับ มันอาจจะช่วยลดความทุกข์ในใจท่านได้ไม่มากก็น้อยครับ

บทความคล้ายกัน ที่คุณอาจสนใจ

ยอดเคล็ดลับป้องกันไม่ให้ทุกข์เพราะความกลัวถูกปฏิเสธ แบบสโตอิก

นี่คือสุดยอดเคล็ดป้องกันไม่ให้ตัวเองต้องสร้างความทุกข์ กังวลใจ เมื่อถูกปฏิเสธ ช่วยให้คุณกล้าลงมือทำอย่างเต็มที่ โดยไม่กลัวผิดหวัง ทำอะไรก็มีโอกาสสำเร็จแน่นอนครับ

หนังสือ สโตอิก ปรัชญาเสริมแกร่งเพื่อชีวิตไม่สั่นคลอน ราคาโปรโมชั่นพิเศษ

ความจริงแล้ว การปฏิเสธมักจะไม่เป็นที่พอใจและยากจะทนสำหรับมนุษย์อย่างเรา ๆ มันทำให้พวกเราหลายคนมีปฏิกิริยาที่ไม่ดีต่อการถูกปฏิเสธหรือถึงกับกลัวด้วยซ้ำไป ใช่ครับ ไม่มีใครชอบหรอก ถ้าต้องเจอการปฏิเสธ

เมื่อเราถูกปฏิเสธจึงมักจะทำให้เกิดความรู้สึกด้านลบ ที่ส่งผลให้เกิดความคิดที่คุณไม่ต้องการนอกจากนี้ ความคิดจะกระตุ้นให้เราจบลงด้วยการตั้งคำถามถึงคุณค่าของตัวเอง และบ่อยครั้งที่ความสงสัยนี้อาจนำไปสู่คำถามที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับความหมายของการมีอยู่ของคุณ เห็นได้ชัดว่าความคิดทั้งหมดนี้เป็นปัญหา และเป็นต้นตอของความทุกข์อย่างแท้จริง

แต่ความจริงก็คือ การถูกปฏิเสธเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ฉะนั้นอะไรก็ตามที่เราเลี่ยงไม่ได้ สิ่งที่คนฉลาดจะทำก็คือ ไม่ฝืน ยอมรับ ทำใจ และทำความเข้าใจเท่านั้นครับ ใครก็ตามที่พยายามสู้ พยายามเอาชนะ หรือหาทางแก้แค้น หรือกระทั่งเอามาก่อหวอดในหัว เอามาเป็นพิษทำร้ายตนเองถือว่า “ทำผิดพลาดแบบโง่ ๆ” อย่างไม่น่าให้อภัยครับ

นี่คือสุดยอดคำแนะนำของชาวสโตอิก 3 ข้อเกี่ยวกับวิธีจัดการกับการถูกปฏิเสธ

  1. เราไม่สามารถบังคับจิตใจของผู้อื่นได้ สิ่งสำคัญคือต้องหาทางสายกลางหลังจากที่คุณถูกปฏิเสธ ซึ่งทางสายกลางนี้จะทำได้เฉพาะผู้ที่มีจิตใจที่เป็นผู้ใหญ่เท่านั้น บอกตัวเองว่า “เราไม่สามารถบังคับจิตใจของผู้อื่นได้” เขาเห็นเราตามค่านิยมของเขา แต่ค่าของเราไม่ลดลงเลยแม้จะถูกปฏิเสธ ก็แค่คนเดียว-ในโลกมีเป็นล้าน 
    • หมายความว่าจิตใจของคุณไม่ควรพึ่งพาความคิดเห็นของผู้อื่น ให้คิดถึงค่านิยมของตนเอง ทบทวนคุณค่าและความพยายามของคุณอีกครั้ง จำไว้ว่าคุณค่าที่คุณกำหนดต่อการถูกปฏิเสธนั้นขึ้นอยู่กับจิตใจอื่นๆ ซึ่งคุณไม่สามารถควบคุมได้ และอารมณ์ของคุณซึ่งคุณควบคุมได้

2. อย่าปฏิเสธตัวเอง ตามคำกล่าวของ Epictetus การปฏิเสธไม่มีอยู่จริง มีเพียงการตีความเหตุการณ์ซึ่งเราระบุว่าเป็น “การปฏิเสธ” คุณอาจคิดว่าตัวเองถูกปฏิเสธหากคุณพลาดการสัมภาษณ์งานหรือถูกปฏิเสธไม่ให้ออกเดท อย่างไรก็ตาม การปฏิเสธนี้ไม่มีคุณค่าทางวัตถุ ซึ่งหมายความว่าเหตุการณ์เหล่านี้ไม่สามารถใช้วัดความรู้สึกมีคุณค่าของคุณได้ (มันเป็นแค่ความเห็นทางปัจเจก) ถ้าคุณมีทางเลืกคุณจะไม่เจ็บปวดจากการถูกปฏิเสธเลย ฉะนั้นจากนี้ไปให้ลงทุนในตัวเองให้มีมูลค่ามากขึ้นจะดีกว่า

3. จงเรียกคืนคุณค่า/ศักดิศรีในตนเอง คนที่มักเครียดเพราะความคิดเห็นของผู้อื่นควรพยายามตระหนักถึงคุณค่าของตนเอง นักวิจารณ์ภายนอกที่มองโลกในแง่ดีและยินดีรับฟังเสมอในกรณีเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ที่คนที่มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำอาจตีความคำวิจารณ์เชิงบวกเหล่านี้ว่าเป็นรูปแบบการปฏิเสธที่โหดร้าย
คุณควรทำความคุ้นเคยกับคุณค่าของตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่นมาเสริมกำลังคุณ ทุกวันที่เน้นการตรวจสอบคุณค่าของคุณจะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นกับตัวเองเมื่อเผชิญกับการถูกปฏิเสธ คาแร็คเตอร์ของคุณต้องการพื้นที่และเวลาในการสร้าง แต่จงยืนหยัดและจำไว้ว่าการปฏิเสธไม่มีวันสิ้นสุด – คุณจะมีโอกาสประสบความสำเร็จอีกมากมายนับไม่ถ้วน

ผมชอบคำสอนของปรัชญาสโตอิกอย่างหนึ่ง คือ ความทุกข์ทั้งหลายนั้น มาจากความคิดของเราเอง เราไปให้คุณค่ากับมันเอง ถ้าเรารู้ว่าอะไรที่อยู่ในการควบคุมของเรา อะไรที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของเรา แล้วมุ่งเน้นไปทำในสิ่งที่เราควบคุมได้เท่านั้นพอ การทำแบบนี้จะเป้นวิะีที่ฉลาดมาก ซึ่งจะนำพาให้เรามีความสุข สลัดความทุกข์ได้แทบจะทั้งหมดเลยครับ

สุดยอดเคล็ดวิธีปล่อยวาง สูตรลับโบราณ ล้างทุกข์ได้ทันที

ปมสำคัญที่สุดที่ทำให้มนุษย์โลกต้องทนทุกข์ทรมาณอย่างสาหัส มาจากการยึดติดไม่ยอมปล่อยวาง นักบวชผู้เข้าถึงธรรมแทบทุกท่านฟันธงฉับไปที่ “การปล่อยวาง” ท่านบอกว่าถ้าอยากบรรลุเข้าถึงธรรมที่พระพุทธเจ้าได้พบ คุณต้องรู้จักปล่อยวาง แต่พูดตรง ๆ นะ เรื่องนี้พูดง่าย แนะนำง่าย แต่ “ทำได้โคตรยาก” เพราะเราได้สร้างปม ผูกโยงความเป็นตัวฉัน-ของฉัน สะสมเป็นบวงกรรมเอาไว้ตั้งแต่เริ่มรู้ความ มันก็คล้ายกับการที่ใครสักคนมีรูปร่างอ้วนฉุขึ้นมานั้น-ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่มันมาจากการ “สะสม” เก็บเล็กประสมน้อย จนกลายเป็นนิสัย เป็นสันดาน ที่ขุดรากถอนโคนยากเหลือเกิน ต้องใช้เวลา

ถึงกระนั้น การปล่อยวาง ใช่ว่าจะทำไม่ได้ เราทำได้ ถ้ามีความมุ่งมั่นจริงจัง ใครทำได้ใครปล่อยวางได้ดีเขาก็จะมีความทุกข์ที่น้อยลง กระนั้นเลย เราไม่ควรรีบหักด้ามพร้าด้วยเข่า คิดปล่อยวางด้วยการฟันฉับให้ขาดสะบั้นในทีเดียว มันเป็นไปไม่ได้หรอกครับ สิ่งที่ผู้ฉลากและเข้าใจโลดควรทำก็คือ “ค่อย ๆ ปล่อยวาง” ปล่อยทีละเรื่อง เริ่มจากเรื่อเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปก่อน ยิ่งปล่อยมากขึ้น ก็ยิ่งเบาสบาย ทุกข์ก็ยิ่งลดลงไป นี่คือศิลปะการปล่อยวางแบบสโตอิก ที่เราควรทำความเข้าใจและเอาไปค่อย ๆ ปล่อยวางครับ

นักปราชญ์สโตอิกมองว่า ความหมายของคำว่าความสุขนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละคน บางคนคิดว่าความสุขคือการมีเงินมากมาย บางคนก็คิดที่จะมีความสุขกับการอยู่ร่วมกับคนที่รัก คำภาษากรีก eudaimonia สามารถแปลเป็นความสุขได้ แม้ว่าชาวสโตอิกจะใช้คำนี้เพื่ออธิบายสภาพความเป็นอยู่ให้สอดคล้องกับธรรมชาติ การใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาตินำไปสู่ความสงบภายในและความพึงพอใจ 

  1. เปลี่ยนคำตัดสินของคุณ พวกสโตอิกเชื่อว่าเหตุการณ์ไม่ได้ดี(บวก)หรือไม่ดี(ลบ)โดยเนื้อแท้  แต่จิตใจทำให้มันเป็นเช่นนั้น  ทำไมสิ่งนี้จึงสำคัญ? เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตส่วนใหญ่อยู่เหนือการควบคุมของเรา  และจริงๆ แล้วมีบางสิ่งที่เราควบคุมได้ สิ่งหนึ่งที่เราควบคุมได้คือความคิดเห็นของเราหรืออีกนัยหนึ่งคือความสามารถในการตัดสินของเรา อะไรก็ตามที่ไม่ขึ้นอยู่กับเราก็อย่าได้ยึดถือมันไว้ ปล่อยมันไป
  2. ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรม คุณธรรมแบ่งได้เป็น ปัญญา ความยุติธรรม ความกล้าหาญ และความพอประมาณ ความชั่ว แบ่งออกเป็นความโง่, ความอยุติธรรม, ความขี้ขลาด, ความเย่อหยิ่ง ตามหลักสโตอิก คุณธรรมมักนำไปสู่ความสุข และความชั่วมักนำไปสู่ความทุกข์ยากเสมอ  ดังนั้น ทางออกของชีวิตที่มีความสุขจึงค่อนข้างง่าย: ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรมและหลีกเลี่ยงความชั่วร้าย(ปล่อยมันไป)
  3. ลดความคาดหวังของคุณลง สาระสำคัญของความคาดหวังสูง คือ การที่เราคาดหวังผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ในเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้ การมีจุดยืนดังกล่าวต่อสิ่งภายนอกจะนำไปสู่ความผิดหวังในที่สุด เพราะพวกเขามักจะไม่เป็นไปตามที่เราจินตนาการไว้

ทั้งสามเรื่องการปล่อยวางนี้ “ทำได้ไม่ยากเลย” คุณว่ามั้ย? นี่แหละคือแก่นของการเริ่มปล่อยวาง มันมาจากความคิด ความเชื่อ ของเราเองครับ ขอแค่เรารู้ที่มาของการยึดมั่นถือมั่น แล้วค่อย ๆ ปล่อยมันไป คุณก็จะเริ่มปล่อยและคลายมันไปได้แล้ว

เคยได้ยินนิทานเรื่อง “พรานนักจับลิง” กันมั้ยครับ? นายพรานผู้นี้มีเคล็ดลับง่าย ๆ ในการจับลิงก็คือ เอากล้วย หรือ ถั่ว หรือผลไม้ที่ลิงชอบ หย่อนลงไปในขวดโหลปากแคบ เอาไปวางในพื้นที่หากินของลิง พอลิงมาเห็นก็หย่อนมือลงไปในขวดโหล กำเอาของกินหมายเอาขึ้นมากิน แต่กลายเป็นว่ามือมันต้องติดอยู่ในขวดโหลนั้น มันไม่ยอมปล่อยของกิน มันก็เลยไปไหนไม่ได้ พรานก็มาจับลิงตัวนั้นไปได้อย่างง่ายดาย – นิทานเรื่องนี้สอนเรื่องการปล่อยวางได้ดีมากครับ วิธีการที่ดีที่สุดในการปล่อยวางก็คือ ทิ้งในสิ่งที่มันไม่จำเป็นต่อชีวิตของคุณออกไปครับ

สุดยอดวิธีเอาชนะความทุกข์เพราะกลัวตาย ด้วยเคล็ด 3 ข้อ ง่าย ๆ

มนุษย์แทบทุกคนในโลกนี้ล้วนกลัวตาย ความกลัวตายมันคอยข่มขู่ มันทำให้เราเป็นอัมพาตทำอะไรไม่ถูก ใช่ครับ..ความกลัวตายถือเป็นต้นตอความทุกข์ใหญ่ที่สุดของมนุษย์ โดยความกลัวตายนี้ถ้ามันไม่ทำให้เราตื่นในตอนกลางคืน มันก็ปลุกเราในยามตื่นอยู่ดี และยิ่งเราหวาดกลัวมันมากเท่าไหร่ เราก็จะทุกข์มากตามเท่านั้นครับ

จริงอยู่ที่เรารู้ว่า ทั้ง ๆ ที่ ความตายเป็นสิ่งที่แน่นอนมากสำหรับพวกเราทุกคน ไม่มีอะไรที่ชัวร์ที่แน่นอนเท่ากับยังไงซะเราก็ต้องตายแน่ ๆ แต่การไม่รู้ว่าอะไรรออยู่หลังจากความตาย ความไม่รู้นี่แหละที่กลายเป็นความทุกข์ที่คอยทรมานจิตใจของมนุษย์ทุกยุคทุกสมัย

ถึงกระนั้น ก็มีนักปราชญ์ของสโตอิก มองความตายในมุมที่แตกต่างออกไป โดย Epictetus กล่าวไว้ว่า “ความตายและความเจ็บปวดไม่ได้น่ากลัว แต่เป็นความกลัวต่อความเจ็บปวดและความตายที่เราจำเป็นต้องกลัว” เขาแนะนำให้เรากำหนดคุณค่าของความตายใหม่ ถ้าเรามีมุมมองที่เปลี่ยนไป การปรับความคิดใหม่ จะช่วยให้เราจะไม่ต้องทุกข์เพราะกลัวความตายอีกต่อไปครับ

เคล็ดลับของสโตอิกที่เอามาประยุกต์ใช้ ในการเอาชนะความกลัวตายคือ 1) การรับรู้ 2) การกระทำ และ 3) เจตจำนง 

ทั้งสามหลักต้องพึ่งพาอาศัยกัน เชื่อมโยงกัน และทำอย่างลื่นไหลอย่างลื่นไหลเท่านั้นถึงจะได้ผลดี อันจะช่วยลดความทุกข์จากการกลัวตายได้

  1. การรับรู้ พวกสโตอิกใช้เวลาและพลังงานเป็นจำนวนมากในการคิดและพยายามควบคุมการรับรู้ของพวกเขา เพราะการรับรู้เป็นตัวกำหนดพฤติกรรม หากการรับรู้ของเรามัวหมอง ระบายสีด้วยเรื่องไร้สาระ เช่น ความกลัว ความวิตกกังวล การขาดความมั่นใจ ความกังวลใจ ชีวิตของเราก็จะเต็มไปด้วยความทุกข์ใจ เราสามารถสร้างกระบวนการรับรู้นลักษณะเดียวกับที่สร้างนิสัย โดยอุปนิสัยเกิดจากการฟัง ฝึกฝน พูดสิ่งเดียวกันวันแล้ววันเล่า เช่นเดียวกัน การรับรู้จะฝังแน่นผ่านการคิดและการฝึกฝนซ้ำๆ
  2. การกระทำ การรับรู้คือวิธีที่เราตีความความตายใหม่ การกระทำคือสิ่งที่เราทำกับมัน คุณกำลังทำอะไรเกี่ยวกับความกลัวนี้? ปล่อยให้มันทรมานคุณทำให้คุณต้องเป็นทุกข์เหรอ? คุณแค่ผลักมันออกจากความคิดไปก่อนแล้วมันจะกลับมาอีกครั้งหรือไม่? คำถามเหล่านี้จะช่วยดึงสติเราให้แน่วแน่ในการกระทำเพื่อให้ “เอาชนะความกลัวของคุณ”  เช่น
    • ถ้าเราเฉยเมยต่อความตาย มันจะกลายเป็นเงาร้ายที่จะแข็งแกร่งขึ้น เข้มขึ้น แล้วมันอาจทำให้เราเป็นอัมพาตเมื่อต้องเผชิญหน้ากับมัน โอเคล่ะ…เราไม่ชอบคิดเกี่ยวกับมัน เราไม่ชอบพูดถึงมัน เราไม่กล้าจินตนาการว่ามันเกิดขึ้นกับเรา แต่การเปิดหน้าเพื่อเผชิญหน้ากับมัน ยอมรับว่ามันมีจริงสิ่งที่เราควรจะทำ นั่นคือสิ่งที่เราทำกับมัน
    • เราจะไม่ปล่อยให้มันอ้อยอิ่งอยู่เหนือเราอีกต่อไป อย่าปล่อยให้การทุกข์ทรมานจากความตายวนเวียนมาและไปตามที่ใจต้องการ ต่อไปนี้เราจะเปิดตาจ้องมองมัน เราใช้มันเพื่อสร้างจูงใจ ไม่ใช่ทำให้เรากลัว
    • เราจะนึกถึงความตายเป็นกิจวัตร มันไม่ใช่การปฏิบัติที่ผิดปกติ แต่มันเป็นสิ่งที่สมควรทำต่างหากเล่า การทรมานจากความตายส่วนใหญ่มาจากความขัดแย้งหลายชั้นที่ถึงแม้จะเป็นความไม่แน่นอนที่ยิ่งใหญ่ของชีวิต แต่ก็เป็นความจริงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เรามั่นใจว่ามันจะเกิดขึ้น แต่เราแค่ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ อย่างไร หรืออะไรจะตามมาแค่นั้นเอง การยอมรับมันเป็นกิจวัตร ช่วยลดความเครียดกังวลเกี่ยวกับความตายได้ ใช่ครับชาวสโตอิก ปลดล็อคกุญแจสู่ความสุข ขจัดความกลัวตายไม่ใช่การเพิกเฉย แต่ด้วยการจ้องหน้ามันทุกวัน
  3. เจตจำนง ชาวสโตอิกแบ่งเจตจำนงออกเป็น ภายใน กับ ภายนอก
    • ภายนอกเป็นเพียงตรงกันข้าม สิ่งภายนอกคือสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้ 
    • ภายในเป็นเพียงสิ่งที่เราควบคุมได้ เช่น การรับรู้และการกระทำ สิ่งเหล่านี้เป็นทั้งทางเลือกที่เราควบคุม 
    • โดยเจตจำนงจะตัดสินทัศนคติของเราต่อสิ่งที่ไม่อยู่ในการควบคุมของเรา สิ่งที่เกิดขึ้นกับเรา
    • ดู ๆ แล้วมันก็ค่อนข้างคล้ายกับการรับรู้และการกำหนดใหม่ว่าเรามองความตายอย่างไร เจตจำนงไม่เพียงแค่มีมุมมองใหม่ แต่ยังยอมรับว่าความตายคือสิ่งที่จักรวาล ธรรมชาติ มีไว้สำหรับเรา

Epictetus กล่าวถึง “ศิลปะแห่งการยอมจำนน” คือยอมจำนนต่อธรรมชาติ มันทำให้วัฏจักรของจักรวาลดำเนินไปตามวิถีของมันโดยไม่ต้องต่อสู้หรือสาปแช่งมัน อันที่จริงมันเป็นมากกว่าการยอมรับ มันคือการค้นหาความสงบในธรรมชาตินั้นคือการทำสิ่งที่เหมาะสม

ซิเซโรก็พูดทำนองเดียวกันและพูดตรงๆ ว่าการกลัวความตายนั้นค่อนข้างโง่เขลา “คนที่น่าสงสารจริงๆ คือคนที่อายุยืนยาวไม่ได้เรียนรู้ว่าความตายไม่มีอะไรต้องกลัว”

สรุป เคล็ดวิชาเอาชนะความกลัวตาย สูตรสโตอิก สั้น ๆ

  1. การกระทำ – ตีความ ความหมายของความตายใหม่
  2. การรับรู้ – เผชิญหน้ากับความตาย ทำให้มันอยู่ใกล้ตัวมากขึ้น
  3. เจตจำนง – ยอมรับ ยอมจำนน เลี่ยงไม่ได้

เพราะฉะนั้น อย่าเอาความกลัวตายมาเป็นความทุกข์เลยครับ มันเป็นสิ่งที่ยังไงซะก็ต้องเกิด อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด ยิ่งห้าม ยิ่งกลัวก็ยิ่งทุกข์ สิ่งที่สโตอิกแนะนำจึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสมแล้วครับ ตอนนี้มันขึ้นอยู่กับว่าใครจะเอาไปปรับใช้แล้ว ถ้าทำได้คุณก็จะขจัดความทุกข์เกี่ยวกับความกลัวตายไปได้เด็ดขาด แต่ถ้าทำไม่ได้คุณก็จะอมทุกข์นี้ไว้ตราจนตายจริงแน่นอนครับ

ขอจบด้วยประสบการณ์ของตัวเองครับ ผมเคยกลัว (ตอนนี้ก็ยังคงกลัว – แต่ลดดีกรีความกลัวลงไปเยอะมาก)
จุดเปลี่ยนสำคัญที่ลดความกลัวตาย คือ การได้เฝ้าคุณแม่ที่เป็นมะเร็งระยะสุดท้าย และปล่อยท่านให้จากไปอย่างสงบ
หลังจากวันนั้น มุมมองของผมเปลี่ยนไปเลย ผมกลับมาตั้งคำถามและให้ความสนใจเรื่องเรื่องความตายอีกครั้ง
พบว่ามันเป็นเรื่องที่เราหนีไม่ได้ แม้จะพยายามฝืนเท่าไหร่ก็ตาม
ล่าสุดไปเจอคำสอนของปรัชญาสโตอิก ก็ยิ่งรู้สึกและมองว่าความตายเป็นเรื่องที่ไม่ควรกังวลอะไรเลย
สโตอิกและนักบวชตะวันตก เขามีคำพูดสื่อสารกันทุกวันว่า Memento mori (เป็นสำนวนภาษาละติน) “สักวัน ท่านต้องตาย”
เขามีการนึกถึงความตายอยู่ตลอดขณะจิต ให้ความตายเป็นเรื่องที่อยู่ในกิจวัตรประจำวันไปเลย
พอเราระลึกถึงความตาย เราจะโฟกัสกับปัจจุบันมากขึ้น
เขาบอกว่าถ้าเราอยู่กับปัจจุบัน เราจะลดความทุกข์จากความคิดฟุ้งซ่านได้มหาศาลเลย (จริงมาก ๆ)
แนะนำหนังสือที่ช่วยให้เราเข้าใจและลดความกลัวตายได้

หนังสือที่ว่ามาทั้งหมดนั้น มีขายที่ร้านซีเอ็ดครับ หาซื้อได้ครับ ทั้งในร้านและออนไลน์

ทุกข์เพราะหย่าร้าง? สามีทิ้ง? นี่คือวิธีรับมือและ move on แบบเด็ดขาด

ทุกข์เพราะหย่าร้าง? สามีทิ้ง? แฟนทิ้ง เลิกกับแฟน นี่คือวิธีรับมือและ move on ที่ใช้งานได้ดีตั้งแต่ยุคโบราณ นักจิตวิทยาให้การรับรองว่ายังคงเวิร์ค ใคร ๆ ก็ ทำได้!
ผมไปเจอบทความ 5 กลยุทธ์สโตอิกเพื่อรับมือกับการเลิกราหย่าร้าง ที่คิดว่าน่าจะมีประโยชน์สำหรับผู้อ่านที่กำลังเครียด คิดมาก ทุกข์เพราะไม่รู้จะทำยังไงดี รู้สึกอ้างว้าง เหมือนขาดอะไรไป เริ่มต้นนับหนึ่งไม่ถูก ฯลฯ ผมว่าคำแนะนำเหล่านี้ น่าจะช่วยชี้ทางสว่างหรือให้ไอเดียลดความทุกข์ให้ท่านได้ ไม่มากก็น้อยครับ
Ryan Holiday ผู้เขียนบอกว่า การเลิกราเป็นประสบการณ์ที่ไม่พึงปรารถนาอย่างยิ่ง และไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะพบรักอีกครั้ง จนกว่าคุณจะทำคุณอาจรู้สึกเหงา ความเหงาเป็นเรื่องยากที่จะอยู่ด้วย แต่มีบางสิ่งที่เราสามารถทำได้เพื่อให้รู้สึกดีขึ้น
ผู้คนทั่วไปมองสโตอิกผิดไป (สโตอิก คือ แนวคิดที่เกิดจากนักปราชญ์กรีก ที่มองโลกและชีวิตอย่างเข้าใจ โดยไม่พยายามเอาชนะและสร้างฝัน) พวกเขาไม่ใช่คนไร้ความรู้สึกและไร้ความรู้สึก แต่พวกเขาสามารถสัมผัสถึงอารมณ์ของมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์โดยไม่บีบคั้น บังคับ สร้างภาพแต่อย่างใด

ทุกข์เพราะหย่าร้าง? สามีทิ้ง? เลิกกับแฟน
นี่คือวิธีรับมือ และ move on แบบเด็ดขาด ปราชญ์แนะนำ ทำแล้วดีจริง ๆ
  1. เปลี่ยนมุมมองของคุณเกี่ยวกับสถานการณ์นั้น
    การล่มสลายของความสัมพันธ์ระยะยาว อาจทำให้เราเชื่อว่าเราจะไม่สามารถก้าวต่อไปจากความเจ็บปวดนี้ได้ แต่ถ้าเราเปลี่ยนมุมมองและปล่อยให้เรารู้สึกถึงความสุขของชีวิตอีกครั้ง (ตอนมีแฟน/มีคู่ เราเคยหงุดหงิด และอยากอยู่คนเดียวมาแล้วมิใช่เหรอ?) ฉะนั้นตอนนี้เราอาจเห็นโอกาสสำหรับความสัมพันธ์ครั้งใหม่เมื่อเวลาผ่านไป หรือ พบว่าการอยู่คนเดียวมันมีอิสระมากกว่าเป็นไหน ๆ
  2. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้จดจ่ออยู่กับอดีต
    เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่จะนึกถึงสิ่งที่เราได้ทำไปแล้ว และไตร่ตรองถึงสิ่งที่เราสามารถทำได้เพื่อแก้ไข(รู้งี้) มันหยุดคุณไม่สามารถก้าวหน้าจากที่ที่คุณอยู่ในช่วงเวลาของการเลิกรา พวกสโตอิกรู้วิธีที่ยอดเยี่ยมในการก้าวข้ามอดีต: ด้วยการมีสติอยู่กับปัจจับัน เป็นการตระหนักรู้โดยไม่ใช้วิจารณญาณของช่วงเวลาปัจจุบัน พวกเขาฝึกสมาธิเพื่อจดจ่ออยู่กับปัจจุบันมากกว่าที่จะผูกติดอยู่กับอดีตที่เจ็บปวด เมื่อคุณเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า การอยู่กับปัจจุบันคืออำนานและความมีชีวิตหนึ่งเดียว(ไม่ใช่อดีต-เพราะอดีตตายแล้ว ฟื้นกลับมาไม่ได้/แก้ไขไม่ได้แล้ว) มันจะทำให้คุณสามารถสลัดทิ้งอดีตออกไปได้ง่ายขึ้น แล้วคุณจะมีชีวิตที่แท้จริงมากขึ้นครับ
  3. หาเวลาให้ตัวเองและเพื่อนและครอบครัวของคุณ
    กลยุทธ์ที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการจัดการกับการเลิกราคือการดูแลตัวเอง (การดูแลตนเอง)
    ให้ความสำคัญกับความผาสุกทางร่างกายและจิตใจ เพราะการมีจิตใจที่ชัดเจนจะช่วยให้คุณคิดเกี่ยวกับสถานการณ์ได้ชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณรักษาความมั่นคงทางอารมณ์ ซึ่งจะทำให้คุณสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้เร็วกว่าการมุ่งความสนใจไปที่การทรมานตนเอง
  4. ใช้มันเป็นเพียงหนึ่งบทในชีวิตของคุณ
    การเลิกราเป็นเรื่องที่ยากจะรับไหว แต่ความจริงแล้ว(พูดก็พูดเถอะ)มันเป็นเพียงบท(ป้ายรถเมล์)เดียวใน(เส้นทาง)ชีวิตของคุณ คุณไม่สามารถคาดเดาได้ว่าคุณจะรู้สึกอย่างไรหลังจากการเลิกรา และไม่มีอะไรผิดปกติกับการรู้สึกโกรธ เศร้า หรือรู้สึกผิดชั่วขณะหนึ่ง
    แต่คุณต้องจำไว้ว่าการเลิกราไม่ใช่จุดจบของชีวิตคุณ และจะมีอีกหลายตอนข้างหน้า
  5. จดจ่ออยู่กับสิ่งที่คุณควบคุมได้ อย่าจมอยู่กับสิ่งที่คุณทำไม่ได้
    ไม่มีใครสามารถควบคุมโลกภายนอกได้ (คนอื่นก็คือโลกภายอกครับ มันไม่ใช่ของคุณ) แต่คุณสามารถควบคุมวิธีตอบสนองต่อมันได้ ไม่ควรเสียเวลากับสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของคุณ
    การเลิกราอยู่นอกเหนือการควบคุมของคุณ แม้ว่าคุณจะไม่ได้มีส่วนร่วมกับมันหรือไม่เคยเห็นมันจะเกิดขึ้นก็ตาม ปล่อยมันไปเถอะ อะไรที่มันหลุดมือไปแล้ว.. ปล่อยคนๆ นั้นออกไปจากชีวิตคุณ แยกตัวออกจากความรู้สึกวุ่นวายที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์
    แต่พวกสโตอิกบอกว่าให้เรียนรู้วิธีจดจ่อกับสิ่งที่คุณควบคุมได้

หวังว่าไอเดียการแก้ทุกข์ที่เกิดจากความกังวล ความเครียด หลังจากหย่าร้าง เลิกรากับแฟน จากชาวสโตอิก จะช่วยให้ท่านลดความกังวลลงไปได้ไม่มากก็น้อย

ผมชอบคำหนึ่งที่ รูมิ กวีชื่อดังบอกว่า “It’s your road, and yours alone, others may walk it with you, but no one can walk it for you.” – Rumi (ชีวิตนี้)มันเป็นเส้นทางของคุณ และเป็นของคุณคนเดียว คนอื่นอาจจะเคยเดินร่วมทางเดียวกับคุณ แต่ไม่มีใครเดินทางแทนคุณได้ เราเกิดมาคนเดียว และก็จะต้องตายคนเดียว ไม่มีใครตายแทนเราได้หรอก คุณว่ามั้ย? (อย่าไปหวังว่าจะให้คนอื่นมาตายแทนเรา ทุกคนล้วนหวงชีวิตตนเองทั้งนั้น)

ถ้าคุณอยากมีความสุขในชีวิต คุณต้องพัฒนาทักษะการพึ่งพาตนเองให้ได้ครับ ถ้าคุณสามารถอยู่คนเดียวได้ พึ่งพาตนเองได้แล้ว ลดการพึ่งำาคนอื่นเพื่อให้เขาสร้างความสุขให้กับคุณได้แล้ว ชีวิตของคุณจะมีความสุขมากขึ้นตามครับ เพราะความทุกข์ของผู้คนในโลกนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการที่เราพยายามควบคุม/คาดหวังในสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของเรา(คืออะไรก็ตามที่อยู่นอกเหนือตัวเรา โดยเฉพาะคนอื่น) เมื่อใดก็ตามที่เรากลับมาโฟกัสในการควบคุมตนเอง รับผิดชอบตัวเอง ไม่พึ่งพาคู่ หรือ แฟน ได้ เราจะมีความสุขมากขึ้น และยั่งยืนกว่าครับ