สรุปหนังสือ “ฝึกสมองไม่ให้ทุกข์” สาเหตุทุกข์มาจากสมอง!

ความทุกข์ใจ ไม่ได้เกิดจากจิตใจ แต่มาจากสมอง สมองหมกมุ่น กับปัญหา จนเหนื่อยล้า จึงเกิดทุกข์ใจ ใครก็ตามที่ชอบหงุดหงิดกับแม้แต่เรื่องเล็กน้อย ๆ จะทุกข์มากตาม

หนังสือ ฝึกสมองไม่ให้ทุกข์ ราคาโปรโมชั่นล่าสุดที่ https://shope.ee/9zOQKckqLi
  1. ทำไมการออกกำลังกาย หรือ ร้องเพลงสุดเสียง สามารถสลัดทุกข์ทิ้งไปได้?
  2. อะไรที่เป็นต้นเหตุให้ทุกข์ใจ กลุ้มใจ คิดไม่ตก?
  3. ความทุกข์ใจ คือ ความเหนื่อยล้า จากการคิด-วกวน
    การไม่อาจปล่อยวางปัญหา ที่ต่อให้คิดมาก(ในตอนนี้)เท่าไหร่ก็แก้ไขอะไรไม่ได้ เรียกว่า ความทุกข์ใจ
    สมองหมกมุ่น กับปัญหา จนเหนื่อยล้า จึงเกิดทุกข์ใจ
    ความทุกข์ใจ ไม่ได้เกิดจากจิตใจ แต่มาจากสมอง
    ใครก็ตามที่ชอบหงุดหงิดกับแม้แต่เรื่องเล็กน้อย ๆ จะทุกข์
    จิตใจ เป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ แม้จะใช้เวลาทั้งชีวิตก็ไม่อาจเข้าใจได้ถ่องแท้ จึงอย่าได้พยายามเลย
  4. วิธีคลายความทุกข์ใจ
    ไม่ว่าใครก็มีความรู้สึกแง่ลบกันทั้งนั้น เรื่องราวในแต่ละวันทำให้อารมณ์แปรปรวนได้ และจะเป็นปัญหาก็ต่อเมื่อความรู้สึกเหล่านั้นครอบงำอยู่นาน จนทำให้สมองเปลี่ยน
  5. ความทุกข์ใจ ต่างจาก อารมณ์ความรู้สึก อย่างไรบ้าง?
    ทุกข์ใจ เพราะ สมองด้านอารมณ์ ยังไม่พัฒนา
    ความรู้สึก คือ สิ่งที่ขับเคลื่อนและยับยั้งการกระทำ
    ความรู้สึก คือ สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจ หรือยับยั้ง
    สมองซีกซ้าย = ยืนยันตัวตน ความรู้สึกของตนเอง
    สมองซีกขวา = ความรู้สึกของคนอื่น ประเมินคนอื่น
    ถ้าไม่อยากทุกข์ใจ ต้องให้ทั้งสองฝั่งสมดุล
    ปัญหาความทุกข์ใจ มาจากการกระตุ้นสมองด้านอารมณ์
    ถ้าไม่ปล่อยไปตามอารมณ์ ความทุกข์ ก็ไม่เกิด
    อารมณ์แปรปรวน มาจากความไม่เข้าใจ กลัว ไม่รู้จริง
    เมื่อรู้จริงๆ ว่ามันคืออะไร เข้าใจ ทุกข์หาย
    ความรู้สึกต่าง ๆ ล้วนเกิดจากสมอง ทั้งเชิงบวกและลบ ลบ ทำให้ทุกข์ใจ
  6. วิธีสร้างสมองที่ไม่ทุกข์ใจ
    ความทุกข์ใจ คือภาวะที่สมองคิดหาคำตอบไม่ได้ ความคิดจึงวนไปเวียนมาไม่จบสิ้น ทำให้รู้สึกหงุดหงิด ลนลาน เศร้าสร้อย เกิดความรู้สึกแปรปรวน จนทุกข์ใจ

วิธีควบคุมความทุกข์ใจ

  1. ปรับสมดุล ระหว่าง ตัวเรา กับ คนอื่น ให้ลงตัว ไม่เห็นแก่ตัวมากเกินไป ไม่เห็นแก่เขามากเกินไป ทำให้แข็งแรงเท่า ๆ กัน
  2. หาให้เจอว่าฝั่งไหนอ่อนแอ ความเห็นแกตัวเอง หรือ ความเห็นอกเห็นใจคนอื่น เพิ่มการใช้งานฝั่งนั้นให้มากขึ้น
  3. ทิ้ง/สลัดส่วนที่คิดซ้ำย้ำวนออกไป หากิจกรรมที่ใช้สมองอีกฝั่งให้มากขึ้น
  4. ปิดสวิตช์ความรู้สึกกลุ้มใจซะ

วิธีใช้สมองให้เหมาะกับตนเอง

  • สมองมีอยู่ 8 กลุ่ม ทำหน้าที่ต่างกัน ได้แก่ กลุ่มความคิด – การเคลื่อนไหว – สื่อสาร – ความเข้าใจ – การจดจำ – การมองเห็น – การได้ยิน – ด้านอารมณ์
  • สมองมีการเติบโตตลอดช่วงอายุ
  • พัฒนาสมองได้ด้วยการ ทำกิจกรรมนันทนาการ เล่นกีฬา ชมงานศิลปะ หรือ ดูภาพยนตร์ ช่วยให้สมองเติบโตได้
  • สมองคนเราชอบทำในสิ่งที่ถนัด ทิ้งที่ไม่ถนัด จึงไม่สมดุล
  • การมีงานอดิเรกที่หลากหลาย ช่วยสร้างความสมดุลได้
  • สมองบริโภค ออกซิเจน กับ กลูโคส
  • ส่วนที่ใช้บ่อย จะได้รับอาหารสองอย่างนี้ไปตลอด
  • แต่ส่วนที่ไม่ได้ใช้ จะอดอยาก
  • ถ้าประสิทธิภาพในการเผาพลาญออกซิเจนในกายแย่ อารมณ์ก็จะแปรปรวน
  • แต่ถ้าเครียดคิดมาก สมองจะเรียกร้องดูดโลหิตมาเลี้ยงมากขึ้น แต่ไม่เกิดประโยชน์ ก็จะรู้สึกหงุดหงิด
  • การไม่ฉลาด ถือเป็นโอกาสในการพัฒนาสมองอย่างหนึ่ง
  • สมองเป็นอวัยวะที่พัฒนาได้ตลอดไม่ว่าอายุเท่าไหร่ หากใช้ชีวิตโดยหมั่นใช้งานประสาทสัมผัสทั้งห้า ใฝ่รู้ เปิดใจ ประทับใจอะไรง่าย กระตือรือร้นกับประสบการณ์ใหม่ ๆ คุณก็จะมีสมองที่ไม่ทุกข์ได้

วิธีฝึกฝนสมองให้เหมาะกับความทุกข์ใจ
วิธีควบคุมลิ้นชักความทรงจำ
พิธีปิดสวิตช์ความรู้สึก

บทความที่มีเนื้อหาคล้ายกัน